วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560

มัลติมิเตอร์

        เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งของช่างไฟฟ้า – วิทยุโทรทัศน์ และช่างอิเล็กทรอนิกส์ ใช้สำหรับวัดแรงดันไฟฟ้าหรือแรงเคลื่อนไฟฟ้า วัดกระแสไฟฟ้าและวัดค่าความต้านทานเป็นต้น แต่เดิมเครื่องมือวัดพวกนี้จะแยกชุดออกจากกัน เช่น สำหรับไฟ AC หรือไฟสลับก็เรียกว่า เอ ซี โวลท์มิเตอร์ (AC volt meter) หรือใช้วัดค่าความต้านทานก็เรียกว่า โอห์มมิเตอร์ (ohm meter) เป็นต้น ซึ่งเป็นการยุ่งยากสำหรับช่างที่จะต้องพกเครื่องมือประเภทนี้ไปหลายๆ อย่าง เพื่อเป็นการประหยัดและให้เกิดความคล่องตัวในการใช้งาน จึงได้มีการพัฒนานำเอาเครื่องมือแต่ละชิ้นมารวมอยู่ในตัวเดียว เพื่อความสะดวกสบายเราจึงเรียกเครื่องมือชิ้นนั้นว่า
มัลติมิเตอร์ (multi meter) หมายถึงเอา มิเตอร์หลายๆ ชนิดมารวมอยู่ในตัวเดียวกันโดยทั่วๆไปแล้วช่างทั่วๆไปเรียกกันว่า มิเตอร คือ มัลติมิเตอร นั่นเอง
มัลติมิเตอร์ ประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้
1. ohm meter เครื่องวัดค่าความต้านทาน
2. volt meter เครื่องวัดค่าแรงเคลื่อนหรือแรงดันไฟฟ้า
3. miliamp meter เครื่องวัดค่ากระแสไฟตรง
ทั้งหมดนี้รวมเรียกว่า multi meter 
หลักการทั่วๆไปของมิเตอร์
เครื่องมือวัดชนิดนี้มีการพัฒนามาจากเครื่องมือวัดสมัยโบราณที่เรียกว่า กัลวาโนมิเตอร์ (galvanometer) ซึ่งประกอบด้วยขดลวด แม่เหล็ก และเข็มสำหรับชี้ค่า เมื่อเราป้อนกระแสไฟเข้าไปที่ขดลวดก็จะเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งสนามแม่เหล็กไฟฟ้านี้จะผลักดันกับอำนาจของสนามแม่เหล็กแม่เหล็กถาวรทำให้เข็มซึ่งยึดติดอยู่เกิดการเคลื่อนที่ หลังจากนั้นมนุษย์ก็พัฒนามาเรื่อยๆ จนกระทั่งเป็นผลสำเร็จที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้มีหลายแบบหลายรุ่น ซึ่งในปัจจุบันแบ่งเป็น
1. V.O.M. ( meter- ohm- miliamp meter )
2. V.T.V.M. ( vacuum tube volt meter )
3. T.V.M. ( transistor volt meter )
4. D.M.M. ( digital multi meter )
ในที่นี้จะพูดเฉพาะ V.O.M. meter เท่านั้นและก็จะชี้ชัดไปที่มิเตอร์ ยี่ห้อ sanwa เพราะว่ารุ่นนี้ใช้แพร่หลายมากราคาถูก ถ้าศึกษาให้เข้าใจดีแล้วไม่ว่ายี่ฮ้อใดก็ใช้ได้เหมือนกันเพราะหลักการต่างๆ เหมือนกันแต่ประสิทธิภาพในการวัดนั้นก็อาจคลาดเคลื่อนกันบ้าง ทั้งนี้และทั้งนั้นขึ้นอยู่กับราคา ถ้าราคาแพง ก็วัดได้ละเอียดขึ้นไป แต่ก็ใกล้เคียงกันทั้งวิธีใช้และการบำรุงรักษา ก่อนที่จะใช้เครื่องมือชนิดนี้ ต้องศึกษาดูว่าปุ่มปรับต่างๆ นั้นมีหน้าที่อย่างไร จะใช้อย่างไรตั้งตรงไหนเพื่อใช้ได้ไม่ผิดพลาด อุปกรณ์ก็ไม่ชำรุดมีอายุการใช้งานทนทาน



รูปที่ 1 มัลติมิเตอร์ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น